-- ต้นทุนร้านไอศครีมและชานมมีอะไรบ้าง ? --
.
.
ก่อนตัดสินใจลงทุนทำธุรกิจไอศครีมชานม สิ่งที่ต้องเรียนรู้อันดับต้นๆ คือ การควบคุมบริหารจัดการต้นทุนทั้งหมด เพื่อจะได้ทราบกำไรสุทธิที่ได้ในแต่ละเดือน เพื่อที่จะเอาไปวิเคราะห์จุดคืนทุน และจุดค้มทุน นี่เป็นวิธีเดียวที่จะทำให้เรารู้ว่าจะอยู่ต่อ หรือ จะไป ในโลกธุรกิจ ถ้าบริหารจัดการต้นทุนได้ดีแล้ว เราก็จะสามารถวางแผนการควบคุมหรือหาช่องทางการลดต้นทุนในขั้นต่อไป
.
การบริหารจัดการต้นทุน เราสามารถทำได้ตั้งแต่ช่วง คิด วิเคราะห์ ก่อนที่จะเริ่มธุรกิจ โดยแอดมินต้องบอกก่อนเลยว่า จากประสบการณ์การทำธุรกิจมา ช่วงเริ่มต้น เราก็คิดคำนวนตัวเลขออกมาสวยกว่าความเป็นจริงเสมอ แต่เราก็จำเป็นต้องคำนวนการบริหารจัดการต้นทุน ก่อนเปิดร้าน เมื่อเราเปิดร้านไปแล้ว สถานการณ์จริง จะทำให้เรารู้ Loss แฝง ที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินกิจการ แล้วเราค่อยมาหาวิธีบริหารจัดการต้นทุนกันใหม่อีกครั้ง
.
.
1. ต้นทุนวัตถุดิบ (Cost of good sold)
.
ต้นทุนวัตถุดิบ คือ ค่าใช้จ่ายจริงที่เราต้องเสียในขั้นตอนการผลิตออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป การหา Supplier ที่ถูกและดี จะเป็น Key Success สำคัญในการควบคุมต้นทุน ร้านไอศครีมและชานมทั่วไป ต้นทุนวัตถุดิบนั้นโดยปกติไม่ควรเกิน 30-35% ของยอดขาย แต่หากคุณคุณขายถูกเช่น ไอศคราีม 10 บาท หรือชานม 19 บาท ต้นทุนก็อาจเป็น 40-60% ได้
.
2. ต้นทุนแรงงาน (Labor costs)
.
ต้นทุนแรงงานถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเป็นอันดับ 2 รองจากต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งต้นทุนตัวนี้นั้นนี้ไม่ได้มีแค่ ค่าแรงพนักงานประจำเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงพนักงานพาร์ตไทม์ ค่าโอที ค่า service charge ค่าประกันสังคม และสวัสดิการต่างๆด้วย เราจึงควรจัดสรรพนักงาน ให้เหมาะสมกับ Scale ของหน้าร้าน โดยปกติต้นทุนนี้ไม่ควรเกินที่ 15-20% ของยอดขาย แต่ถ้าเรายิ่งขายได้มากเท่าไหร่โอกาสที่ labor costs จะลดก็มีมากขึ้นเท่านั้น
.
3. ต้นทุนค่าเช่า (Occupancy costs)
.
ต้นทุนค่าเช่านี้ไม่ได้หมายถึงแค่ ค่าเช่าที่คุณจ่ายอยู่รายเดือนเท่านั้น แต่รวมไปถึงค่าภาษีโรงเรือนและค่าประกันภัยที่คุณจ่ายในทุกๆเดือนด้วย ซึ่งปกติต้นทุนค่าเช่านี้ควรจะอยู่ที่ประมาณ 15-20% ของยอดขาย ยกตัวอย่าง ถ้าร้านขายสินค้าๆได้ เดือนละ 100,000 บาท ค่าเช่าที่ควนไม่เกิน 15,000-20,000 บาทนั่นเอง
.
4. ต้นทุนค่าสาธารณูปโภค (Utilities costs)
.
ค่าใช้จ่ายก้อนนี้รวมสาธารณูปโภคทั้ง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแก๊ส ค่าโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นต้นทุนที่เจ้าของร้านมักไม่ค่อยสนใจกันมากนัก เพราะคิดว่ายังไงก็ต้องเสียอยู่แล้ว ซึ่งต้นทุนประเภทนี้ไม่ควรเกิน 1-5% ของยอดขาย
.
5. ต้นทุนค่าการตลาด (Marketing costs)
.
ร้านส่วนใหญ่ไม่ค่อยเผื่อค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ซึ่งถือเป็นส่่วนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะหากเราไม่ทำการตลาดเลย ลูกค้าก็จะไม่รู้จักเราด้วยเช่นกัน ซึ่งต้นทุนสำหรับการตลาดนั้นก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละร้าน ร้านทั่วไปก็อาจกันงบไว้อยู่ที่ประมาณ 2-5% ของยอดขาย แต่ถ้าร้านเราเป็นร้านอาหารเดลิเวอรี่นั้น อาจต้องเตรียมงบการตลาดไว้ถึง 10-15 %
.
6. ต้นทุนค่าบริหาร (General & Administration costs)
.
หากร้านเรามีผู้จัดการร้านอยู่แล้ว แล้วตัวเราเองอยู่ในฐานะของเจ้าของร้านเพียงอย่างเดียว การเอาเงินเดือนของหุ้นส่วนและตัวเราเองไปอยู่ในต้นทุนแรงงาน (Labor costs) อาจทำให้ต้นทุนก้อนนี้บวม และจะทำให้คุณไม่รู้ว่าต้นทุนแรงงงานนี้สูงหรือต่ำยังไง เราจึงต้องเอาเงินก้อนนี้มาอยู่ในส่วนของต้นทุนบริหาร นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายประเภท ค่าพนักงานแอดมิน ค่าจ้างสำนักงานบัญชี ค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกี่ยวกับในร้านโดยตรงก็สามารถเอามาใส่ในต้นทุนส่วนนี้ได้ ซึ่งต้นทุนในส่วนนี้จะอยู่ที่ประมาณ 1-5 % ของยอดขาย
.
7. ต้นทุนอื่นๆ (Miscellaneous)
.
ต้นทุนอื่นๆ นี้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นจำนวนไม่มาก อาจเป็นทั้งค่าใช้จ่ายที่เกิดเป็นครั้งๆ หรือจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียในทุกเดือนก็ได้ เช่น ค่าใช้จ่ายซ่อมแซ่มอุปกรณ์ ค่าล้างแอร์ ค่าเดินทางไปซื้อวัตถุดิบ ค่ากระดาษทิชชู่ ค่าเช่าเครื่องล้างจาน ค่าบริการPOS ค่าใช้จ่ายจิปาถะยิบย่อยเหล่านี้ ถือเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งรวมแล้วไม่ควรเกิน 5% ของยอดขาย กำไรที่เหลือควรอยู่ประมาณ 15-20% ของยอดขาย (ก่อนหักภาษี) ซึ่งหากร้านของเราได้กำไรอยู่เท่านี้ ถือว่าสามารถบริหารจัดการร้านได้ดีเลยทีเดียว แต่หากได้มากกว่า 20% ก็ถือว่ามาถูกทาง แล้วพยายามรักษาโครงสร้างต้นทุนนี้ไว้ให้ได้ แต่หากยังได้ไม่ถึง 15% ก็ควรรีบกลับไปดูว่าต้นทุนส่วนไหนที่สูงเกินค่าเฉลี่ย แล้วก็หาวิธีลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลงให้ได้ เพื่อที่จะทำให้ร้านเหลือกำไรอย่างที่ต้องการ
.
พล Sweet Creations
Comments