Part 1 #newnormal
.
Newnormal มันเริ่มตั้งแต่ก่อน Lockdown ตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคมแล้ว ทุกสนามบินที่ผมไปเริ่มมีการตรวจวัดอุณหภูมิ มีเจลแอลกอฮอล์ และก็เป็นช่วงเริ่มต้นที่ทำให้ผู้คนเริ่มกลัว รายได้ร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า เริ่มลดลง คนเริ่มหันมาทำกับข้าวทานเอง และสั่ง Delivery มากขึ้น รวมถึงผับบาร์ ที่ลูกค้าน้อยลงทันตา
.
เมื่อมีมาตรการ Lockdown เพื่อควบคุมการระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่กลางมีนาคม รูปแบบการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงและเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ทำงาน/เรียนจากที่บ้าน, ไปซื้อของกินของใช้จากซุปเปอร์มาเก็ตให้น้อยครั้งที่สุด, สั่งซื้อออนไลน์แทน, สั่งอาหารเดลิเวอรี่ และเปลี่ยนการทำกิจกรรมนอกบ้านเป็นในบ้านแทน
เมื่อสถานการณ์ยอดผู้ติดเชื้อลดลง รัฐเริ่มผ่อนปรนมาตรการ แต่ยังกำชับให้ประชาชนต้องระมัดระวังตัวไม่ให้ติด/แพร่เชื้อ ผู้คนตั้งหน้าตั้งตารอคอย คือ การเปิดห้าง, ร้านอาหารต่างๆ. โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ใช้ชีวิตในเมือง
.
เพราะก่อนยุคโควิดกิจกรรมที่คนเมืองส่วนใหญ่ทำกันตอนว่าง คือ การเดินห้าง เพราะอากาศร้อนและไม่ค่อยมีที่เที่ยวอื่นให้ไป ช่วงที่ Lockdown ทำให้คนบางส่วนเฉา เหงา หดหู่ เบื่อ เพราะแทบไม่มีอะไรให้ทำ อยู่แต่ที่เดิมๆ ไม่ได้เจอใคร ต้องเข้าไปอยู่ในโลกโซเชียลมีเดีย สร้างสรรค์หากิจกรรมทำกัน เช่น ตลาดขายของมหาวิทยาลัย, ตลาดคนโสดต่างๆ, ไอศกรีมชุดใหญ่แบบ Take away
.
17 พ.ค. 2563 เป็นวันแรกที่ห้างร้านต่างๆเปิดทำการ แต่ทุกอย่างไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะห้างร้านต้องทำตามมาตรฐานที่กรมควบคุมโรคกำหนดไว้ ห้างมีจุดคัดกรองเพื่อวัดอุณหภูมิและสแกน QR code “ไทยชนะ” เพื่อไว้ติดตามข้อมูลแต่ละคนว่าไปไหนมาบ้าง (มีการสแกนเข้า/ออก) หากมีคนติดเชื้อจะได้ตามตัวกันได้ (หากรัฐมีความโปร่งใสถือว่าเป็นคอนเซ็ปต์ที่ดี แต่มีคนตั้งข้อสังเกตว่ารัฐอาจละเมิดข้อมูลความเป็นส่วนตัว?) พอเดินเข้าไปในห้างมีป้ายเตือนเป็นระยะเรื่องการเว้นระยะห่างระหว่างกันอย่างน้อย 1.5 เมตร ก่อนจะเข้าแต่ละร้านต้องสแกน QR code มีทางเข้าร้านแค่ทางเดียว ทุกร้านมีการจำกัดจำนวนลูกค้าที่เข้าร้านในหนึ่งช่วงเวลา
มีร้านที่วัดอุณหภูมิซ้ำ หน้าร้านและตามจุดต่างๆมีเจล/แอลกอฮอล์ให้เป็นระยะ บนพื้นมีการติดเครื่องหมายกากบาทการยืนให้ห่างกัน พนักงานใส่หน้ากาก โซนแคชเชียร์มีการกางแผงพลาสติกกั้นระหว่างลูกค้ากับพนักงาน บางร้านไม่รับเงิน/บัตรเครดิตจากลูกค้าโดยตรงแต่ใช้ถาดรับ บางร้านรับโดยตรงก็มี
.
พอออกจากร้านต้องสแกนออก (เรื่องนี้มีปัญหาว่าลูกค้าบางคนลืมสแกนออก ทำให้ระบบคิดว่ายังมีคนอยู่ในร้าน เลยไม่สามารถรับคนที่จะเข้าไปใหม่ได้ ทั้งที่ลูกค้าคนเดิมออกไปแล้ว)
.
ส่วนร้านอาหารต่างๆ หากร้านไหนยังจัดสถานที่ไม่พร้อมจะให้แค่ซื้อกลับบ้าน ร้านที่ให้บริการกินที่ร้าน มีการจัดโต๊ะให้ห่างกัน โต๊ะตัวเล็กจะให้นั่งแค่ 1 คน โต๊ะที่ปกตินั่ง 4 จะให้นั่ง 2 คนแบบเยื้องกัน บางร้านที่ให้คนนั่งติดกัน (แบบห่างๆ) จะมีแผงพลาสติกกั้น
.
แม้จะรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงระบบการให้บริการของห้างร้านเป็นสิ่งที่ดีในเรื่องการควบคุมโรค แต่ความรู้สึกส่วนตัว คือ รู้สึกแปลกๆ อึดอัด (น่าจะต้องใช้เวลาในการปรับตัว) เพราะมีขั้นตอนต่างๆที่ต้องทำมากมาย ต้องใช้เวลา/รอคิว
พอไปที่ที่มีคนเดินเฉียดมาใกล้ร่างกายตอบสนองทันทีด้วยการเด้งตัวออกห่าง ไปร้านอาหารก็ไม่สามารถนั่งกินกันหลายคนได้เหมือนแต่ก่อน
.
ที่สำคัญ คือ บรรยากาศความรู้สึกของผู้คนในห้างดูเปลี่ยนไป จากแต่เดิมที่ห้างเป็นสถานที่ที่คนเข้ามาใช้บริการกันมาก คึกคัก เดินเพื่อพักผ่อน เรื่อยเปื่อยช้อปปิ้ง แต่ตอนนี้คนที่จะมาห้างส่วนใหญ่ต้องมีความจำเป็นที่จะมาซื้อของจริงๆ วางแผนว่าจะซื้ออะไรบ้าง รีบไปรีบกลับ เผื่อเวลาเอาไว้เยอะๆ
.
คนที่เคยใช้ร้านอาหารเป็นที่พบปะสังสรรค์เอาบรรยากาศก็ทำไม่ได้ ถ้าจะไปร้านอาหาร คือ ไปเพื่อกินจริงๆ คนอาจจะเดินห้างกันลดลงเพราะกลัวการติดโรค, ไม่อยากเสียเวลารอ แนวโน้มพฤติกรรมของคนน่าจะสั่งของออนไลน์และสั่งอาหารเดลิเวอรี่ไปเรื่อยๆจนกว่าสถานการณ์ของโควิดจะนิ่งกว่านี้
พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป คือสิ่งสำคัญที่ร้านอาหาร เครื่องดื่ม หรือร้านของหวาน ต้องตระหนัก ไม่ว่าการต้องทำตามการมาตรการรัฐ ไม่เชื่อเพราะกลัวคำสั่ง แต่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ของร้านให้ดูน่าเชื่อถือ รวมถึงปรับกลยุทธตามให้ทัน เช่น ผันตัวมาเล่น Delivery มากขึ้น จัด Promotions คุ้มๆ ออก Product ใหม่มาล่อ การ Co-Brand กับคู่ค้า และอื่นๆซึ่งผมจะมาเล่าต่อไปใน Part 2
พล
Managing Director
Sweet Creations
Comments