top of page
ค้นหา

ประสบการณ์ปั้นแบรนด์ขึ้นห้างดัง!!! เครียดสุด เหนื่อยสุด แต่หยุดความสนุกไม่ได้ แชร์กันแบบไม่มีกั๊ก...

  • พล Sweet Creations
  • 29 ต.ค. 2561
  • ยาว 2 นาที

สวัสดีครับ ตลอดระยะเวลาการทำงาน 6 ปีที่ผ่านมา ผมจะได้รับคำถามเสมอว่า "อยากเปิดร้านไอศครีมในห้าง" มาครับ ผมจะเล่าให้ฟัง ว่าคุณต้องทำอย่างไร และต้องเจอกับอะไรบ้าง

PHASE 1 การติดต่อขอขึ้นห้างดัง

การที่จะเอาแบรนด์ขึ้นห้างนั้น มันมีอยู่ 2 รูปแบบครับ

1) เราต้องไปสร้างแบรนด์ สร้างหน้าร้านให้ดังจากที่อื่น เช่น ไปลองเปิดร้านใน Community Mall, อออกอีเว้นท์จนเป็นกระแส

2) เราต้องมีสินค้า "ที่น่าสนใจพอ และห้างกำลังมองหาอยู่ไปเสนอ และมี Connection กับห้างบ้างเล็กน้อย นั่นก็เป็นอีกทางนึงครับ

***สำหรับผมนั้น ผมปั้นแบรนด์ Owlvee Soft ขึ้นมา โดยการทำทั้ง 2 อย่างแหล่ะครับมาเป็นปีๆจนห้างรู้จักล่ะครับ รวมถึงผมได้สร้าง Connections ไว้มากมายตั้งแต่สมัยออกงานอีเวนท์ ผมทำความรู้จักกับ ฝ่ายขาย ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบริหารของห้าง ไว้มากมายตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ผมไม่เคยขาดการติดต่อกับคนของห้างจนได้โอกาส ออกงานบ่อยครั้ง และนั่นมันก็เป็นเรื่องง่าย เมื่อมีพื้นที่ว่าง และ ห้างกำลังต้องการสินค้าประเภทของเราล่ะครับ

PHASE 2 เมื่อได้รับการตอบรับจากห้าง มาถึงช่วงต่อราคาค่าเช่า และมองพื้นที่

เมื่อห้างสนใจเรา ห้างจะเสนอพื้นที่มาให้เรามากมาย มีตั้งแต่ทำเลแย่ จนไปถึงทำเลทอง แล้วแต่ห้างนะครับ การคิดราคาค่าเช่าในห้างก็มี 2 แบบด้วยกัน

1) เก็บค่าเช่าคงตัว ไม่รวมค่าน้ำ ค่าไฟ

2) คิดค่าเช่าแบบ GP (แบ่งเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย) โดยประเภทอาหาร เครื่องดื่มก็จะโดน GP ตั้งแต่ 18-30% ไม่รวมน้ำไฟครับ ทำเลดีก็ GP สูง แต่เค้าก็มีการันตียอดขั้นต่ำ ว่าคุณต้องขายต้องเท่าไรต่อเดือน ถ้ายอดคุณต่ำมาก คุณมีสิทธิถูกยกเลิกสัญญาได้ทันที

***วิธีการเลือกนั้น ส่วนใหญ่ เราจะเลือกได้ ยกเว้นห้างดังมากๆ จะคิดเป็น GP แน่นอนครับ ก็คิดง่ายๆนะครับ ที่ไหนเป็นค่าเช่าคงตัว ส่วนใหญ่ จะเป็นทำเลที่ไม่ค่อยดี ถ้า GP สูงๆ แสดงว่า Traffic ก็จะดีกว่าครับ สำหรับแบรนด์ Owlvee Soft เซ็นทรัลปิ่นเกล้าของผม ก็โดน GP เช่นกัน โดยล่าสุด สามารถต่อราคา GP ได้เพียง18% บางสาขา 25% ถือว่าราคาดีในทำเล เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า ทั้งนี้ทั้งนั้น ช่วงการคุยกับ ฝ่ายขายพื้นที่ห้าง ต้องต่อราคานะครับ อย่าไปยอมเค้าทุกอย่าง เราเป็นลูกค้าครับ ต้องต่อราคา เพราะเราต้องอยู่กับห้างไปอย่างต่ำก็ 1-3 ปี แล้วแต่สัญญา

PHASE 3 ส่งงานออกแบบ ถอดแบบก่อสร้าง เพื่อให้ห้าง Approve

งานออกแบบ : แบบที่จะต้องส่งห้าง ก็จะมี ภาพ Perspectives หรือ ภาพ3D เสมือนจริง , แบบก่อสร้าง, แปลนน้ำ-ไฟ ซึ่งแบบเหล่านี้ ต้องจ้างผู้ออกแบบเขียนขึ้นมา ไม่จำเป็นต้องมีสถาปัตย์ หรือ วิศวกรเซ็นหรอกครับ แค่เป็นแบบที่ให้ห้างดูรู้เรื่องก็พอแล้ว เมื่อส่งแบบให้ห้างอนุมัติ ก็จะมีการแก้แบบไป-มา ไม่น่าต่ำกว่า 10 รอบ เนื่องจากข้อกำหนดของห้างที่มากมายมหาศาล

***เคส Owlvee Soft สาขาเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า : หลังจากที่ผมได้เซ็นสัญญาเช่าพื้นที่ ผมมีเวลาทั้งหมด 1 เดือนในการออกแบบ ผมจะแบ่งให้ว่า 1 เดือนเนี่ย ต้องทำอะไรบ้างโดยทั่วไป

- 15 วัน ออกแบบ Perspective แล้วส่งให้ห้างตรวจ

- 7 วันแก้แบบ Perspective จนห้างพอใจ

- 7 วันที่เหลือ เมื่อห้างพอใจแล้ว เราจะส่งแบบ ก่อสร้าง แปลนน้ำ-ไฟ

แต่ประเด็นมันอยู่ตรงที่ การแก้แบบ ตรวจแบบ จะโดยกินเวลามากถึง 1 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น สาเหตุมันมาจาก ไม่ถูกใจห้าง ไม่ถูกใจเรา ผิดtheme โน่น นี่นั่น สารพัด ป้ายเมนู สูงไป ต่ำไป 108 อย่างครับ

ฉนั้น 1 เดือน แทบจะไม่พอ ผมแนะนำเลยว่า 2 เดือนได้ จะดีมากครับ เพราะเป็นเฟสที่คุณจะเครียดสุดๆ และนอกจากนั้น คุณต้องทำงานควบคู่ไปกับผู้รับเหมา เพื่อให้เริ่มดำเนินการเตรียมตัวก่อสร้างได้ทัน

PHASE 4 เริ่มต้นก่อสร้างร้าน

ห้างส่วนใหญ่ ถ้าเป็นบูธไม่เกิน 30 ตรม. ห้างจะให้ 15 วัน เกินกว่านั้น ห้างจะให้ 1 เดือน

***เคสของผมคือ 15 วัน แต่ผมต่อรองไป 21 วัน (ห้างไม่อนุมัติ) ปัญหาที่เกิดคือ ห้างมันจะบีบเราทุกอย่าง คุณจะเจอกับทุกฝ่ายของห้างมาหาเรา ฝ่ายขาย ฝ่ายอาคาร ฝ่ายตรวจแบบ สารพัด พวกเค้าจะทำทุกวิถีทาง เพื่อเร่งเรา ผู้รับเหมาในห้างส่วนใหญ่ จะเข้าใจดี และจะทำการตกลงกับเราไว้ เช่น 15 วันน่ะ เปิดได้ แค่พอเปิดได้นะ แต่ไม่เรียบร้อย ต้องตามเก็บงานอีก 2 อาทิตย์ เราก็จะรู้กัน หน้าที่ของเราคือ บี้ ผู้รับเหมา และประนีประนอมกับห้างครับ (แนะให้ใช้ผู้รับเหมาทำเคยทำงานห้างครับ อย่าใช้มือใหม่เด็ดขาด) เพราะเขาจะทำงานเป็นตัวแทนของเราเลยทีเลย เราต้องเวลาไปเตรียมซื้อของ หาพนักงาน ต่างๆ ทำเมนู ทำสติ๊กเกอร์ ป้ายไป ตั้งเครื่องคิดเงิน จิปาถะครับ

PHASE 5 ระหว่างก่อสร้าง

คุณรู้หรือไม่ว่า 15 วัน ผมได้โดนห้างเล่นงานอะไรบ้าง ทั้งโกงเวลาในการเข้าทำงาน เพราะร้านเก่าย้ายออกไม่ทัน ไม่อนุมัติแบบในหลายๆส่วน แต่ท้ายสุด สิ่งที่ต้องทำคือ ลงมือก่อสร้างไปเถอะครับ ไม่อนุมัติ ก็ต้องลงมือทำ เพราะฝ่ายอนุมัติ กับ ฝ่ายขาย มันคนละแผนกกัน เมื่อถึงกำหนดเปิดร้านไม่เสร็จ เราจะซวยครับ และระหว่างก่อสร้าง ก็จะเจออุปสรรคมากมายเช่น

- ยามงี่เง่า ขอดูใบอนุญาติ หรือมาตรวจความเรียบร้อย แล้วห้ามเราทำงานต่างๆนา

- ขนของขึ้นหน้างาน ติดขัด เพราะลิฟท์ขนของมีน้อย

- เปลี่ยนแบบกระทันหันเพราะ ห้างมีกฎใหม่

- ต้องปิดบังงานก่อสร้างให้มิดชิด

- ถูกฝ่ายต่างๆโทรมาเล่นงาน หาว่า ผู้รับเหมาไม่เข้า เก็บงานไม่เรียบร้อย พาทิชันบังหน้างานก่อสร้างไม่มิดชิด

สารพัด 108 เรื่องครับ เราทำได้เพียงพูดว่า "OK ครับ จะจัดการให้แล้วทำงานไป" กลยุทธของผมเป็นแบบนี้แหล่ะ แจ้ง ผู้รับเหมาถึงความไม่เรียบร้อยได้ แต่อย่าไปต่อว่านะครับ งานเสียแน่นอน เพราะคุณ ก็ไม่มีปัญญาก่อสร้างเองใช่มั๊ยละครับ เรื่องนี้สำคัญ มันย้อนกลับไปถึง PHASE การเลือกผู้รับเหมาที่เชี่ยวชาญ แต่ผมบอกเลย "ไม่มี ผู้รับเหมาเจ้าไหน สร้างได้เสร็จทันเวลาหรอกครับ หากคุณเคยดูงานก่อสร้าง คุณจะเข้าใจ"

PHASE 6 ครบกำหนดก่อสร้าง วันเปิดร้าน ช่วงต่อรองยืดเวลาก่อสร้าง

แน่นอนครับ ผู้รับเหมาเสร็จไม่ทัน เราก็ทำหนังสือ ต่อรองเลื่อนวันเปิดละครับ แต่ ห้างก็จะบีบๆๆๆ แล้วก็ บีบๆๆๆ ให้มันทัน เราได้แต่พูด "OK ครับ " เท่านั้นแหล่ะครับ ห้างจะให้เปิดขายได้ เมื่องานเสร็จ 85% ครับ

PHASE 7 วันเปิดร้าน (วันเละแห่งชาติ)

มันเป็นวันนรกครับ ฉุกละหุกมาก ทุกอย่างไม่มีความพร้อม วันเปิดร้านเราจะเรียกว่า Soft Opening หรือ วันทดลองระบบนั่นเอง ระบบที่ต้องลองก็ดังนี้

- ลองระบบเครื่องคิดเงิน

- วางตำแหน่งพนักงาน

- จัดวางอุปกรณ์ให้หยิบจับ ใช้งานง่าย

- ลองขาย ดูคิว ดูระยะเวลาที่ลูกค้ารอ

กว่าทุกอย่างจะเข้าที่ ผมใช้เวลา 3 วันครับ และทุกสาขาที่ผมเปิด มันเป็นแบบนี้หมด

PHASE 8 โดนเร่งให้เก็บงาน

เฟสนี้ เป็นเฟสทะเลาะกับห้างแห่งชาติครับ เนื่องจาก เราเปิดได้แล้ว แต่ร้านยังไม่สมบูรณ์ มันก็จะมี พวกฝ่ายตรวจแบบ ฝ่ายอาคาร ฝ่ายโน่นนี่นั่น มากันเพียบ ใส่เรายับ ทำไมโน่น นี่ นั่น สารพัด โน่นไม่ผ่าน นี่ไม่ผ่าน นี่ละครับ เฟสทะเลาะแห่งชาติ ต้องอดทน และนิ่งเข้าไว้ครับ ผู้รับเหมาก็จะเริ่มทำงานเอื่อยๆ เพราะพวกเขาทำงานมาหนักมากช่วง 15 วันไม่ได้หยุด

PHASE 9 ร้านสมบูรณ์ 100% ช่วงขอเงินประกันคืน

ช่วงนี้ เป็นช่วงที่เพิ่งอย่าจ่ายเงิน ผู้รับเหมาหมดนะครับ เหลือไว้สัก 10% ช่วงแก้งาน เพราะเมื่อร้านเปิดแล้ว งานก่อสร้างมักจะมี Defect ให้ตามแก้เสมอ ดึงเงินไว้สัก 2 สัปดาห์ เพื่อเช็คว่า งานทุกส่วนโอเคหรือไม่อย่างไร และเรียกเงินประกันค่าก่อสร้างคืนจากห้างครับ

ประสบการณ์ในห้าง ต่อให้คุณจะเปิดมาแล้วกี่สาขา กี่ครั้ง สิ่งที่ต้องเจอ คือกฎ ระเบียบ ที่มากมายมหาศาล เพราะห้าง ต้องทำงานช่วงกลางคืน มีหลายส่วน หลายฝ่าย ที่พยายามจะทำดี เพื่อไม่ให้โดนนายด่า ก็เหมือนเราล่ะครับ เราก็อยากจะทำงานของเราให้มันออกมาดีที่สุด คนที่อยู่ Under เราก็มีแค่ ผู้รับเหมาเท่านั้น สิ่งที่อยากจะบอกก็คือ อย่าไปกลัวที่จะลงมือทำ อย่าไปกลัวปัญหา อย่าใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ ต้องเจรจาต่อรองให้เก่งเข้าไว้ เพราะทุกอย่าง ประนีประนอมได้

9 PHASES ที่ผมได้เล่าประสบการณ์มา ผมวังว่าจะมีประโยชน์สำหรับทุกคนที่มีฝัน จะสร้างแบรนด์ลงห้างนะครับ ผิด ถูกประการใด แชร์กันได้นะครับ ถ้าคุณอ่านบทความนี้ แล้วคุณคิดว่าไม่ไหว ผมเตือนว่า อย่าเข้าห้างครับ "ใจพร้อม กายพร้อม เงินพร้อม" คุณทำได้ครับ ชีวิตไม่ได้ปูไว้ด้วยพรมแดงครับ

Comments


ติดต่อฝ่ายขายและศูนย์บริการ   ADD LINE หรือ โทรสอบถามทันที 

sweet creations Line LOA
sweet creations Line LOA
sweet creations เบอร์โทร
sweet creations เบอร์โทร
soft serve society facebook
soft serve society facebook
sweet_creations_catering.event
sweet_creations_catering.event

OPERATING HOURS 

MON - SAT : 9.00 - 18.00

 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

092.941.9241 | 064.239.2965 | 063.289.3562

EMAIL     :     sweetcreationsthailand@gmail.com

LINE ID  :  @swc999

เครื่องทำไอศครีม

ติดตามข่าวสารข้อมูลและ  VLOG ของทางบริษัทได้ คลิ๊ก Link   YouTube ด้านล่าง

สั่งซื้อสินค้าผ่าน Shoping Online   มีชำระเงินปลายทาง   และรับชำระผ่านบัตรเครดิต

shopee-storeLogo-1553503678_edited.png
lazada-logo-2020.jpeg
png-transparent-visa-mastercard-logo-vis
Copyright © 2018 SWC Factory.Co.,Ltd

 เครื่องทำไอติม เครื่องทำไอศครีมซอฟเสริฟ ขายเครื่องทำไอศครีม เครื่องทำไอศครีมราคา บูธไอศครีม ขายไอศครีม ธุรกิจไอศครีม  เครื่องทำไอศครีมราคาถูก   เครื่องทำไอศครีมโคน เครื่องทำไอศครีมมือสอง เครื่องทำไอติมราคาถูก เครื่องทำไอติมมือสอง เครื่องทำไอศครีมซอฟท์เสริฟ แฟรนไชส์ไอศครีม เครื่องทำไอศครีม แฟรนไชส์ไอติมโคน  รับผลิตไอศกรีม   โรงงานไอศครีม  

bottom of page